ขั้นต่อไปของการใช้ Fibonacci นั้นคือการใช้มันเพื่อหาเป้าหมาย
จำ กฎการอยู่รอด - ถ้าไม่มั่นใจ ให้เชื่อในสิ่งที่คิด! เรามาเริ่มกันที่ตัวอย่างแนวโน้มขาขึ้นกัน
ในแนวโน้มขาขึ้น แนวคิดพื้นฐานนั้นคือการสร้างผลกำไรโดยการใส่คำสั่ง Buy ในระดับราคา Fibonacci Extension
เริ่มต้นโดยคลิกไปที่จุด Swing Low จากนั้นลากเคอร์เซอร์และคลิกไปที่จุด Swing High ล่าสุด และสุดท้าย ลากเคอร์เซอร์กลับลงมาและคลิกที่ระดับ Retracement ใดก็ได้
สิ่งนี้จะแสดงให้เห็นถึงระดับ Price Extension ในแต่ละระดับ ทั้งแบบอัตราส่วนและระดับราคาที่สอดคล้องกัน
มาดูกันที่กราฟ USD/CHF ที่เราได้แสดงให้คุณเห็นในบทเรียนที่ผ่านมา

ระดับ Fibonacci ที่ 50.0% นั้นมีความแข็งแรงในการเป็นแนวรับ หลังจากการทดสอบทั้ง 3 ครั้ง คู่ค่าเงินนี้ก็สามารถดำเนินตามแนวโน้มขาขึ้นของราคาได้ในที่สุด และในกราฟด้านบนนี้ คุณจะสามารถเห็นว่าราคานั้นเพิ่มขึ้นเหนือจุด Swing High ที่ผ่านมา
เรามาลองใช้เครื่องมือ Fibonacci Extension เพื่อดูว่าจุดใดเป็นจุดที่ดีสำหรับการเอาผลกำไรออกมาบ้าง

นี่เป็นการทบทวนว่าเกิดอะไรขึ้นหลังจากที่ Retracement เกิดขึ้นที่จุด Swing Low
- ราคาจะพุ่งขึ้นไปจนถึงระดับ 61.8% ซึ่งอยู่ใกล้กับจุด Swing High ก่อนหน้านี้
- ราคาร่วงลงไปที่ระดับ 38.2% ที่มันเจอกับแนวรับของราคา
- ราคานั้นจะพุ่งขึ้นและเจอกับแนวต้านที่ระดับ 100%
และในไม่กี่วันต่อมา ราคาจะพุ่งตัวขึ้นอีกครั้ง ก่อนที่จะเจอแนวต้านที่ระดับ 161.8%
อย่างที่คุณเห็นจากตัวอย่าง ระดับ 61.8% 100% และ 161.8% ทั้งหมดนี้เป็นที่ที่ดีในการเก็บผลกำไรบ้างเล็กน้อย
ตอนนี้เรามาดูตัวอย่างของการใช้ Fibonacci ในช่วงแนวโน้มขาลงกัน
ในช่วงแนวโน้มขาลง แนวคิดโดยทั่วไปคือ การสร้างผลกำไรจากการเทรดแบบขาย ในระดับ Fibonacci Extension เนื่องจาก ตลาดนั้นมักจะหาแนวรับที่ระดับเหล่านี้
เรามาดูกราฟอัตราค่าเงินในระยะเวลา 1 ชั่วโมง ของ EUR/USD ที่เราได้แสดงให้เห็นไปในบทเรียนเกี่ยวกับ Fibonacci Sticks

ตรงนี้ เราจะเห็นว่ามีการก่อตัวของรูปแบบเดียวกันอยู่ใต้ระดับ Fibonacci ที่ 61.8% หลังจากนั้นราคาจะย้อนกลับเนื่องจากผู้ขายกระโดดกลับเข้าไปร่วมเทรดในตลาด และทำให้ราคาร่วงลงไปถึงจุด Swing Low
เอาเครื่องมือ Fibonacci Extension ออกมาใช้แล้วดูว่าจุดไหนเป็นจุดที่ดีสำหรับการสร้างกำไรจากที่เราได้ขาย (Sell) ไว้ที่ระดับ Retracement ที่ 61.8%

เกิดขึ้นอะไรขึ้นหลังจากที่ราคานั้นพลิกตัวกลับจากระดับ Fibonacci Retracement
- ราคานั้นจะเจอกับแนวรับที่ระดับ 38.2%
- ระดับที่ 50.0% นั้นจะถือว่าเป็นแนวรับแนวแรก จากนั้นจะกลายเป็นส่วนพื้นที่ที่น่าสนใจ
- ระดับที่ 68.1% นั้นก็ได้กลายเป็นส่วนพื้นที่ที่น่าสนใจ ก่อนที่ราคาจะร่วงลงไปที่จุด Swing Low ก่อนหน้า
- หากคุณมองกราฟข้างหน้า คุณจะพบว่าระดับ Extension ที่ 100% นั้นก็จะทำหน้าที่เป็นแนวรับเช่นกัน
เราสามารถทำกำไรได้ที่ระดับ 38.2%, 50.0% หรือ 61.8% ซึ่งระดับเหล่านี้นั้นก็ได้ทำหน้าที่เป็นแนวรับ อาจเป็นเพราะเทรดเดอร์คนอื่นๆก็อาจจ้องทำกำไรไว้ที่ระดับเหล่านี้เช่นกัน
ตัวอย่างทั้งหมดนี้ได้แสดงให้เห็นว่าราคานั้นพบกับแนวรับหรือแนวต้านชั่วคราวที่ระดับ Fibonacci Extension – ไม่จำเป็นเสมอไป แต่บ่อยครั้งที่จะต้องปรับเปลี่ยนตำแหน่งการเทรดของคุณเพื่อที่จะทำกำไรและจัดการความเสี่ยงของคุณ
และแน่นอน มันจะต้องมีปัญหาที่เราจะต้องมาแก้
อย่างแรก มันไม่มีทางที่เราจะรู้ได้เลยว่าระดับ Fibonacci Extension ที่จะพบกับแนวต้านนั้นอยู่ในระดับไหน ระดับทุกระดับในนี้นั้นอาจ หรืออาจจะไม่ทำหน้าที่เป็นแนวรับหรือแนวต้านก็ได้
ปัญหาอีกอย่างหนึ่งนั้นคือการระบุว่าจุด Swing Low จุดไหนตั้งแต่แรก เมื่อสร้างระดับ Fibonacci Extension
ทางหนึ่งคือจากจุด Swing Low ล่าสุดอย่างที่เราได้ทำให้เห็นในตัวอย่าง; อีกทางหนึ่งคือจากจุด Swing Low ต่ำที่สุดใน 30 แท่งที่ผ่านมา แต่ก็เหมือนเดิม มันไม่ได้มีทางที่ถูกต้องเพียงทางเดียว แต่หากคุณหมั่นฝึกฝน คุณจะสามารถมีการตัดสินใจที่ดีในการเลือกจุด Swing ได้
คุณจะต้องใช้วิจารณญาณในการใช้เครื่องมือ Fibonacci Extension โดยคุณจะต้องตัดสินดูว่าเทรนด์นั้นจะดำเนินต่อไปอีกนานเท่าไร และ เราจะสอนคุณถึงวิธีที่จะช่วยให้คุณสามารถวัดความแข็งแรงของเทรนด์ได้
ต่อไปเรามาดูกันที่การตั้งจุด Stop Loss กันดีกว่า